ทนชื้น
1 minute min

รับหน้าฝน กันชื้นภายในบ้าน เพื่อสุขภาพของคุณ

Posted on 05.04.2021 - updated on: 31.08.2021
ฝน

ความชื้นในบ้าน อย่าปล่อยผ่าน ถ้าไม่อยากให้บ้านและคนอาศัยป่วย เพราะเมื่อมีความชื้น เชื้อราชนิดต่างๆ ก็อาจะเกิดขึ้นในจุดต่างๆของบ้านเราได้ และมันจะสะสมอันตรายต่อทางเดินหายใจของเรา เมื่อเราได้สูดดมในทุกๆวัน

สิ่งหนึ่งที่หลายคนสงสัยเป็นอย่างมากคือ “การมีความชื้นมากไปผ่านในบ้าน เป็นผลเสียจริงรึเปล่า” ความจริงแล้วระดับความชื้นในอากาศหรือ“ความชื้นสัมพัทธ์” ภายในห้องที่เหมาะสมควรอยู่ที่ร้อยละ 30-50 โดยค่าความชื้นนั้นจะเพิ่มขึ้นในฤดูร้อนและลดลงในฤดูหนาว แต่เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ฝนตกหนักในฤดูฝนและอากาศร้อนมากในช่วงเช้าถึงกลางวัน ทำให้มีค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าร้อยละ 50 เนื่องจากมีไอน้ำระเหยในอากาศมาก

สิ่งที่ตามมากับความชื้นคือ ปัญหาด้านการปรับอุณหภูมิในร่างกายให้เย็นลง ทำให้เกิดอาการหอบหืดและภูมิแพ้ รวมถึงการสะสมของสปอร์และเชื้อราต่างๆ ช่วยให้ไรฝุ่นเจริญเติบโตได้ดีอีกด้วย

วิธีการสังเกตว่ามีความชื้นภายในห้องมากเกินไป

  • มีเชื้อราบน ผนังห้อง, ฝ้าเพดาน หรือเครื่องเรือนต่างๆ
  • มีน้ำที่พื้นหรือผนังเป็นจำนวนมาก
  • ปริมาณน้ำเกาะตามท่อน้ำจำนวนมาก
  • สีหรือวอลเปเปอร์เริ่มลอก
  • มีกลิ่นอับ
  • ไม้เริ่มผุ

ปัจจุบันมีนวัตกรรมต่างๆ ช่วยเรื่องการกันชื้นภายในบ้านมากมายทั้งเครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ เครื่องระบายอากาศ เป็นต้น นอกจากนี้ ยิปรอคยังมีระบบผนังและฝ้าเพดานสำหรับห้องที่เสี่ยงต่อการมีความชื้นสูงอย่างห้องครัวและห้องน้ำเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณและครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นระบบผนัง GypLyner® DryTop สำหรับกรุทับผนังเก่า หรือ GypWall® DryTop สำหรับการสร้างผนังขึ้นมาใหม่

 

แผ่น
โครง

ระบบฝ้าเพดาน Conceal MR ซึ่งทุกระบบจะใช้แผ่นยิปซัมชนิดทนชื้นสูง เนื้อกระดาษบนแผ่นยิปซัมเป็นวัสดุเหนียวพิเศษ ลดการเกิดของเชื้อราตามผนังและฝ้าเพดาน

นอกจากนี้โครงคร่าวก็เป็นเรื่องสำคัญเมื่อพูดถึงความชื้น เพราะถ้าโครงคร่าวที่บ้านของคุณไม่ได้เคลือบหรือเป็นเหล็กที่ไม่ได้คุณภาพ ความชื้นจะทำให้เกิดสนิม และเกิดการชำรุดของบ้านได้

วิธีป้องกันและแก้ไขความชื้นอื่นๆ

  1. ใช้พัดลมเป่าความชื้นออกจากห้อง
  2. เปิดหน้าต่าง ให้มีการระบายลมออก
  3. ซ่อมแซมอุปกรณ์ที่รั่วภายในบ้าน เช่น ท่อน้ำ, ท่อแอร์ เป็นต้น
  4. อาบน้ำให้เร็วขึ้น และหลังอาบน้ำควรเปิดประตูเพื่อระบายความชื้นออกจากห้อง
สุข
Add new comment
Rating:
Restricted HTML
  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.
  • Global and entity tokens are replaced with their values. Browse available tokens.
We don't share or sell your data and will only use your data for the purpose described above.
CAPTCHA